การวัดด้านพุทธิพิสัย











การด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
          เป็นความสามารถทางสมอง หรือความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา หลักการหรือทฤษฎีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านนี้สามารถวัดได้จาก การให้ผู้เรียนแจกแจงความรู้ เขียนรายการสิ่งที่รู้ยกตัวอย่าง ประยุกต์กฎต่างๆ ที่เรียนไป หรือวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นต้น พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยแบ่งไว้ 6 ขั้น ซึ่ง การเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป ต้องอาศัยระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่าเสมอ





พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ  ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้  สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้  เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
                                                                        



6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้

ตัวอย่างข้อสอบในขั้นต่างๆของพฤติกรรมพุทธิพิสัยตามทฤษฎีของ Bloom
1. ความรู้ความจำ (Knowledge)
คนดื่มสุรามาก ๆ มักเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะใด ?
ก.       ไต
ข.       หัวใจ
ค.       ลำไส้
ง.        กระเพาะ
จ.       หลอดเลือด
ตอบ ก.ไต
2. ความเข้าใจ (Comprehension)
   การเจ็บหน้าอก น้ำหนักตัวลด ไอแห้งๆ มีไข้เวลาบ่าย หรือเหงื่อออกเวลากลางคืน อาการเช่นนี้เป็นอาการของโรคใด  ?
ก.       ปอดบวม
ข.       หวัดใหญ่
ค.       วัณโรค
ง.        หวัดเรื้อรัง
จ.       หลอดลมอักเสบ
ตอบ ก.  ปอดบวม
3. การนำไปใช้ (Application)
   ถ้าจะรับประทานอาหารชนิดใด  ทดแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้  ? 
ก.       กล้วย
ข.       ข้าวโพด
ค.       มันสำปะหลัง
ง.        ถั่วเหลือง
จ.       เผือก
ตอบ ง.  ถั่วเหลือง
4. การวิเคราะห์ (Analysis)
   สัตว์และโรคคู่ใดเกี่ยวข้องกันมากที่สุด  ?
ก.       หนูกับโรคหืด
ข.       แมลงสาบกับโรคบิด
ค.       ยุงลายกับไข้มาลาเรีย
ง.        พยาธิกับโรคขาดอาหาร
จ.       แมลงวันกับไข้รากสาดน้อย
ตอบ ค. ยุงลายกับไข้มาลาเรีย

5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
    ถ้า  โอบอุ้ม = 24315
    อรชอน      = 47946
    แล้ว "อบรม" มีค่าเท่ากับเท่าไร
    ก. 2578
    ข. 4375
    ค. 6432
    ง. 1259
    จ. หาค่าไม่ได้
    ตอบ ข. 4375
6. การประเมินค่า(Evaluation)
    ข้อใดใช้ งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
    ก. ฟังเพลงและเล่นเกมที่บ้านของตนเอง
    ข. ดาวน์โหลดโปรแกรม Freeware มาใช้ งาน
    ค. บันทึกข้อมูลส่วนตัวลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน  
    ง. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนเพื่อคัดลอกเอกสาร
    จ. ไม่มีข้อถูก
    ตอบ ง. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนเพื่อคัดลอกเอกสาร






ความคิดเห็น

  1. ด้านความจำแบ่งออกได้กี่ ประเภท

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 3 ประเภทครับ
      1. ความรู้ความจำในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics)
      2. ความรู้ในวิธีดำเนินการ (Knowledge of ways and means of dealing with specifics)
      3. ความรู้ความจำรวบยอด (Knowledge of universals and abstractions in the field)

      ลบ

แสดงความคิดเห็น